เมนู

บทว่า มิจฺฉาญาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด. บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ
ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์. วัฏฏะและวิวัฏฏะ
ในมรรค 4 พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรที่ 3 เป็นต้นเหล่านี้. ส่วนบุคคล
ที่ทรงถามธรรมที่ทรงจำแนก มีอยู่ในพระสูตรทั้ง 2 สุดท้ายในที่นั้น. ทรง
แสดงบุคคลโดยธรรมแล้วอย่างนี้. บทว่า สุปฺปวตฺติโย แปลว่า เป็นที่ตั้ง
แห่งความเป็นไปได้ง่าย. อธิบายว่า บุคคลย่อมยังจิตให้แล่นไปยังทิศอัน
ปรารถนา และต้องการแล้วได้ ฉันใด บุคคลก็ย่อมสามารถให้หม้อกลิ้งไป
ได้ฉันนั้น. บทว่า สอุปนิสํ สปริกฺขารํ ได้แก่ พร้อมทั้งปัจจัย พร้อม
ทั้งบริวาร คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามิจฉัตตวรรคที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. มิจฉัตตสูตร 2. อกุศลธรรมสูตร 3. ปฐมปฏิปทาสูตร
4. ทุคิยปฏิปทาสูตร 18. ปฐมอสัปปุริสสูตร 6. ทุติยอสัปปุริสสูตร
7. กุมภสูตร 8. สมาธิสูตร 9. เวทนาสูตร 10. อุตติยสูตร พร้อมทั้ง
อรรถกถา

ปฏิปัตติวรรคที่ 4



1. ปฏิปัตติสูตร



ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติและสัมมาปฏิบัติ


[89] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ
และสัมมาปฏิบัติแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[90] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน คือ ความเห็น
ผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิบัติ.
[91] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิบัติเป็นไฉน คือ ความเห็น
ชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่าสัมมาปฏิบัติ.
จบปฏิปัตติสูตรที่ 1

2. ปฏิปันนสูตร



ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติและปฏิบัติชอบ


[92] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้
ปฏิบัติผิด และบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[93] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน บุคคลบาง
คนในโลกนี้ เป็นผู้มีความตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปฏิบัติผิด.